ASEAN (อาเซียน)

Posted: ตุลาคม 11, 2012 in ASEAN (อาเซียน), Uncategorized

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)

สัญลักษณ์อาเซียน

0

asian

“การวางรากฐานของประชาคมอาเซียนด้วยสามเสาหลัก”

ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น

ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความ
ท้าทายใหม่ ๆ มากมาย เช่นโรคระบาด การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติ เช่น      คลื่นยักษ์สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้

เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558 โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

“อาเซียนกับเพื่อนๆ ของอาเซียน”

หลายท่านคงได้ทราบอยู่บ้างว่า อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2510 นั้น ในปัจจุบัน มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า นอกจากอาเซียนจะเป็นสมาคมที่ให้สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ
ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันผ่านกรอบความร่วมมือต่า งๆ แล้ว อาเซียนยังมีโครงการความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ กับเพื่อนที่ตั้งอยู่นอกภูมิภาค หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘คู่เจรจา’ ของอาเซียนอีกกว่า 10 ประเทศหรือองค์กรเลยทีเดียว

อาเซียนเริ่มมีความสัมพันธ์กับประเทศนอกกลุ่มเป็นครั้งแรกกับ ‘สหภาพยุโรป’ ในปี 2515 หรือประมาณ 5 ปีภายหลังการก่อตั้งอาเซียน จากนั้น อาเซียนก็มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปัจจุบัน อาเซียนมีเพื่อนที่เรียกว่า ‘คู่เจรจา’ แล้ว จำนวน 9 ประเทศ กับ 1 องค์กร ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อินเดีย รัสเซีย และสหภาพยุโรปดังที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความร่วมมือเฉพาะทางในบางสาขากับองค์การสหประชาชาติและปากีสถาน รวมถึงกลุ่มภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือของรัฐอ่าวอาหรับ ซึ่งเป็นองค์กรของประเทศที่มีน้ำมันเป็นสินค้าส่งออกหลัก อันประกอบด้วยบาห์เรน กาตาร์ คูเวต โอมาน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งมีอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศเป็นสมาชิกอยู่ด้วย และองค์กรของกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาหลายองค์กร เช่น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม NAFTA) และตลาดร่วมอเมริกาตอนล่าง ซึ่งประกอบ
ไปด้วยอาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย ชิลี เปรู โบลิเวีย โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ ซึ่งอาเซียนพยายามหาความเชื่อมโยงด้วยในเรื่องเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน

เป้าหมายในตอนแรกที่อาเซียนต้องการมีเพื่อน คือ การขอให้เพื่อนที่มีสถานะที่ดีกว่าให้ความช่วยเหลือทางด้านการพัฒนาแก่อาเซียน ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเพื่อน ๆ ในช่วงแรก ๆ ไม่ว่าจะเป็นกับสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา จึงอาจเรียกได้ว่าอยู่ในสถานะ ‘ผู้ให้กับผู้รับ’ อย่างไรก็ดี เมื่ออาเซียนเติบโตและมีระดับการพัฒนาที่ดีขึ้น ความสัมพันธ์กับเพื่อนได้ค่อย ๆ เปลี่ยนจาก ‘ผู้รับ’ มาเป็นแบบ ‘หุ้นส่วน’
ไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนา หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  หรือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยมีกลไกการประชุมในระดับต่าง ๆ เป็นกลไกการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเพื่อน ๆ ไม่ว่า
จะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม หรือการประชุมระดับผู้นำประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่เรียกว่า ‘อาเซียน + 3’ ซึ่งจัดขึ้นเป็นเป็นประจำทุกปีเช่นกันในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเพื่อน ๆ ในรอบ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดผลในด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันเพื่อป้องกันข้อพิพาทที่อาจมีขึ้น การที่ประเทศเพื่อน ๆ ของอาเซียนให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและทางเทคนิคแก่โครงการเพื่อการพัฒนาของอาเซียน โดยเฉพาะโครงการลดช่องว่างระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมกับกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม ซึ่งเป็นสมาชิกที่เพิ่งเข้าร่วมอาเซียนได้ไม่นานนัก รวมไปถึงความพยายามในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ หรือสหภาพยุโรป อันจะส่งผลให้ประชาชนโดยทั่วไปของอาเซียน รวมทั้งชาวไทย ได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง

นอกจากอาเซียนมีความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียแบบรายประเทศ และในกรอบที่เรียกว่า ความร่วมมืออาเซียน + 3 ซึ่งได้จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้แล้ว อาเซียนยังได้เป็นแกนหลักในการจัดให้มีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อีกด้วย ซึ่งการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ถือเป็นเวทีของผู้นำที่จะแลกเปลี่ยนความคิดและวิสัยทัศน์การพัฒนา ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ในตอนนี้ อาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในปี 2558 ดังนั้น การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเพื่อน ๆ ในอนาคตนั้น จึงจะเน้นที่การประสานความร่วมมือระหว่างกันในกิจกรรมและโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียน

จะว่าไปแล้ว การมีเพื่อนเยอะและมีเพื่อนที่ดีของอาเซียน  ก็เปรียบเสมือนกับการที่เรามีกัลยาณมิตร หรือการที่เราได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เราไม่ทางตรงก็ทางอ้อมนั่นเอง

“กฎบัตรอาเซียนเพื่อคุณ”

ตลอดช่วงเวลากว่า 40 ปี อาเซียนได้พัฒนาตนเองจนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จในระดับสำคัญในหลายด้านที่เป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เรื่อยไปจนถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวกันของอาเซียน รวมถึงความพยายามในการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในปี 2558 ได้แก่ การที่อาเซียนขาดกลไกที่บังคับในกรณีที่มีประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน และการที่องค์กรอาเซียนเองไม่มีสถานะทางกฎหมาย (legal entity) ซึ่งบ่อยครั้งทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันลงนามใน ‘กฎบัตรอาเซียน’ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน โดยการมีกฎบัตรอาเซียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) เพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคม’ ภายในปี 2558 (2) สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน และ (3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการบังคับใช้ของกฎบัตรฯ จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรทีมีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น กฎบัตรอาเซียน จะก่อให้เกิดการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานของอาเซียนครั้งสำคัญ เช่น (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (AICHR) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่อาเซียนมีองค์กรเฉพาะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกอาเซียน (2) การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกระดับเอกอัครราชทูตจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียน โดยคณะกรรมการนี้ มีภารกิจหลักในการให้นโบายและติดตามการทำงานของอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน และ (3) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการจัดให้มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 2 ครั้งต่อปี ซึ่งเพิ่มจากที่ผู้นำอาเซียนพบเพื่อหารือกันเพียงปีละหนึ่งครั้ง และ (4) การจัดตั้งกลไกให้องค์กรภาคประชาสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและดำเนินงานของอาเซียนมากขึ้น เป็นต้น

จากบริบทข้างต้น ก็คงจะเห็นได้ในระดับหนึ่งว่า ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการมีกฎบัตรอาเซียน ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็นประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยทั่วไป รวมถึงประชาชนไทยด้วย ดังนั้น ในโอกาสที่ไทยได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2552 ไทยจึงได้กำหนดคำขวัญของการดำรงตำแหน่งประธานฯ ว่า
‘กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน’ หรือ‘ASEAN Charter for ASEAN Peoples’ ในภาษาอังกฤษ

คำขวัญ

“One Vision, One Identity, One Community”
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้” หมายถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกัน เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน 

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

 สีขาวหมายถึง ความบริสุทธิ์

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)

สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์

เลขาธิการ

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ.2551)

ปฏิญญากรุงเทพ

8 สิงหาคม พ.ศ. 2510

กฎบัตรอาเซียน

16 ธันวาคม พ.ศ. 255

ประเทศสมาชิก

อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรก : ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย

ปัจจุบันอาเซียน : ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่

1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

บรูไน

ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า “เนการาบรูไนดารุสซาลาม” มีเมือง “บันดาร์เสรีเบกาวัน” เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

อ่านเพิ่มเติม….

http://www.aseanthailand.org/Brunei_Info%20_05-08-52_.pdf

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

กัมพูชา

เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/cambodia_Info.pdf

3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

อินโดนีเซีย

เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/indonesia_Info.pdf

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People’s Democratic Republic of Lao PDR)

ลาว

เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/Laos_Info.pdf

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia

มาเลเซีย

เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/Malaysia1_Info.pdf

6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

ฟิลิปปินส์

เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/Philippines_Info.pdf

7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore

สิงคโปร์

เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/Singapore_Info.pdf

8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

ประเทศไทย

เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/Thailand_Info.pdf

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

เวียดนาม

เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/1Vietnam_Info.pdf

10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

ประเทศพม่า

มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

อ่านเพิ่มเติม…

http://www.aseanthailand.org/Myanmar_Info.pdf

ประเทศอาเซียน

ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

 มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

 ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

  ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

ความร่วมมือ

 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก:

สมาคมอาเซียนประเทศไทย

http://www.aseanthailand.org/index.php

เว็ปไซด์กระปุกดอทคอม

http://hilight.kapook.com/view/67028

Photobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image Hosting

ใส่ความเห็น