Posts Tagged ‘คำนาม’

คำนาม (Noun) คือคำที่ใช้เรียกสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น คน สัตว์ พืช สิ่งของ และสถานที่ คำนามเป็นประเภทของคำที่มีจำนวนมากที่สุดในทุกๆภาษา

ตัวอย่างเช่น

คน (Man)

  1. Janjira  (เจนจิรา)
  2. Porntip  (พรทิพย์)
  3. Attakorn  (อรรถกร)
  4. Man  (คน)
  5. Father  (พ่อ)
  6. Mother  (แม่)
  7. Teacher  (ครู)
  8. Hui Wa Wittayakom School  (โรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม)
  9. Friend  (เพื่อน)
  10. Children  (เด็ก)

สัตว์ (Animal)

  1. Cat  (แมว)
  2. Bird  (นก)
  3. Rat  (หนู)
  4. Pig  (หมู)
  5. Dog  (สุนัข)

พืช (Plant)

  1. Flower  (ดอกไม้)
  2. Tree  (ต้นไม้)

สิ่งของ (Thing)

  1. Book  (หนังสือ)
  2. Bed  (เตียง)
  3. Television  (โทรทัศน์)
  4. Computer  (คอมพิวเตอร์)
  5. Radio  (วิทยุ)
  6. Phone  (โทรศัพท์)
  7. Car  (รถ)
  8. pen  (ปากกา)
  9. Van  (รถตู้)
  10. Ring  (แหวน)

สถานที่ (Place)

  1. Khong river  (แม่น้ำโขง)
  2. Shum Son Ban Pak Chom School  (โรงเรียนชุมชนบ้านปากชม)
  3. Marina Hotel  (โรงแรมมาริน่า)
  4. P and O Company  (บริษัทพี และ โอ)
  5. Shiang Kan Hospital  (โรงพยาบาลเชียงคาน)

จากที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น เป็นคำนามที่จับต้องได้ หรือ คำนามแบบรูปธรรม ยังมีคำนามอีกประเภทหนึ่งคือ คำนามที่จับต้องไม่ได้ หรือ คำนามแบบนามธรรม ซึ่งคำนามพวกนี้มังลงท้ายด้วย

-ity  เช่น Nationality (สัญชาติ)

-ment  เช่น Environment (สิ่งแวดล้อม)

-ness  เช่น Happiness (ความสุข)

-ation  เช่น Relation (ความสัมพันธ์)

-hood  เช่น Childhood (วัยเด็ก)

-ship  เช่น  Friendship (มิตรภาพ)

ประเภทของคำนาม

มีทั้งนามนับได้ (Countable Noun) และนามนับไม่ได้ (Uncountable Noun)

คำนามนับได้ (Countable noun)

คือ คำนามที่สามารถนำมานับได้ เช่น หนังสือหนึ่งเล่ม(One book), บ้านสองหลัง( Two houses), พัดลมสามเครื่อง( Three fans) และอื่นๆอีกมากมาย(ext.)

คำนามยังแบ่งย่อยเป็น คำนามเอกพจน์ และคำนามพหูพจน์

คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่นับจำนวนได้เพียงหนึ่งเท่านั้น เช่น ปากกาหนึ่งด้าม (One pen), รถหนึ่งคัน(One Car), พัดลมหนึ่งตัว(a fan)

คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่นับได้มากกว่าหนึ่งขึ้นไป เช่น ปากกาหลายด้าม(Pens), รถหลายคัน(Cars), พัดลมหลายตัว(Fans)

หลักการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์

1. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s, ss, x, sh, ch, zz, และ z ให้เติม es ง่ายเวลาออกเสียง

  • bus – buses (รถประจำทาง)
  • kiss – kisses (จูบ)
  • fox – foxes (สุนขจิ้งจอก)
  • brush – brushes (แปรง)
  • witch – witches (แม่มด)
  • buzz – buzzes (เสียงของผึ้ง)

2. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย  o และหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม es

  • buffalo – buffaloes (ควาย)
  • mango – mangoes (มะม่วง)
  • tomato – tomatoes (มะเขือเทศ)
  • potato – potatoes (มันฝรั่ง)

*Remark* …ยกเว้นบางคำที่ข้างหน้า o เป็นพยัญชนะสามารถเติม s ได้เลย นักเรียนจะต้องสังเกตและจดจำคำศัพท์และการใช้ s และ es จากตัวอย่างที่ให้

ตัวอย่าง การเติม s หลังคำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย  o และหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม s ได้เลย

  • piano – pianos (เปียโน)
  • memo – memos (บันทึกข้อความ)
  • solo – solos (การบันเลงเพลงเดี่ยว)
  • photo – photos (รูปถ่าย)

3. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o และหน้า o เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย

  • radio – radios (วิทยุ)
  • bamboo – bamboos (ไม้ไผ่)

4. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es

  • baby – babies (เด็กทารก)
  • copy – copies (สำเนา)
  • lady – ladies (สุภาพสตรี/คุณผู้หญิง)
  • candy – candies (ลูกกวาด/ลูกอม)

5. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย

  • toy – toys (ของเล่น)
  • boy – boys (เด็กผู้ชาย)
  • day – days (วัน)
  • monkey – monkeys (ลิง)

6. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe  ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วเติม es

  • knife – knives (มีด)
  • leaf – leaves (ใบไม้)
  • half – halves (ครึ่งหนึ่ง)
  • shelf – shelves (ชั้นวางของ)
  • wife – wives (ภรรยา)
  • thief – thieves (ขโมย)

*Remark* …ยกเว้นบางคำที่ข้างหน้า f เป็นพยัญชนะ ให้เติม s ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ ef เป็น v ก่อน

  • gulf – gulfs (อ่าว)
  • cliff – cliffs (หน้าผา)
  • scarf – scarfs หรือ scarves (ผ้าพันคอ) เมื่อเปลี่ยนเป็นพหูพจน์จะใช้ได้ทั้งสองแบบ

7. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe และหน้า f หรือ fe เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย

  • roof – roofs (หลังคา)
  • belief – beliefs (ความเชื่อ)
  • chief – chiefs (หัวหน้า)
  • proof – proofs (หลักฐาน/พิสูจน์)
  • grief – griefs (ความเศร้าโศก)
  • fife – fifes (ขลุ่ย)
  • safe – safes (ตู้นิรภัย)

8. คำนามเอกพจน์เปลี่ยนรูปไปเลย เมื่อเป็นพหูพจน์

  • man – men (ผู้ชาย)
  • woman – women (ผู้หญิง)
  • tooth – teeth (ฝัน)
  • ox – oxen (วัวตัวผู้)
  • louse -lice (เหา/หมัด)
  • child – children (เด็ก)
  • mouse – mice (หนู)
  • person – people (คน/ประชาชน)

*Remark* …ยกเว้นบางคำที่มาจากภาษาลาตินหรือกรีก จะมีรูปเป็นพหูพจน์ตามภาษษเดิม

  • crisis – crises (เหตุฉุกเฉิน)
  • basis – bases (หลักสำคัญ/หลักเกณฑ์)
  • thesis – theses (ข้อสมมติ/วิทยานิพนธ์)
  • analysis – analyses (การวิเคราะห์)

9. คำนามมีรูปเหมือนกันทั้งคำนามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์

  • dear – dear (กวาง)
  • fish* – fish (ปลา)
  • sheep – sheep (แกะ)
  • salmon – salmon (ปลาแซลมอน)
  • cod – cod (ปลาคอด)
  • trout -trout (ปลาเทราท์)

*Remark* …เราสามารถเติม es หลัง fish เมื่อต้องการจะสื่อ หรือบอกว่ามี ปลาหลายสายพันธุ์

10. คำนามต่อไปนี้เป็นรูปพหูพจน์ แต่ต้องใช้เป็นเอกพจน์เสมอ

  • tactics (กลวิธี)
  • news (ข่าว)
  • headquarters (กองบัญชาการ)
  • means (วิธี)
  • statistics (สถิติ)
  • alms (การให้ทาน)
  • folks (สมาชิกในครอบครัว)
  • United Nations (สหประชาชาติ)

คำนามนับไม่ได้ (Uncountable noun)

คือคำนามที่นำมานับไม่ได้ รูปร่างไม่คงที่ ละเอียด ทำให้นามนับไม่ได้จึงมีรูปเป็นคำนามเอกพจน์เสมอ

  • sugar (น้ำตาล)
  • salt (เกลือ)
  • sand (ทราย)
  • water (น้ำ)
  • air (อากาศ)
  • gas (แก๊ส)
  • soap (สบู่)
  • rice (ข้าว)
  • happiness (ความสุข)
  • friendship (มิตรภาพ)

*Remark* …หากจะทำให้นามนับไม่ได้มานับได้ เราจะต้องใส่ภาชนะ หรือใช้ระบบตวง ชั่ง วัด เข้ามาช่วย จึงจะสามารถนับได้

  • Two packs of sugar (น้ำตาลสองห่อ)
  • Three liters of water (น้ำสามลิตร)
  • A cup of coffee (กาแฟหนึ่งแก้ว)
  • A bottom of water (น้ำหนึ่งขวด)

Observance ข้อสังเกต

รูปเอกพจน์ และพหูพจน์ของคำนามบางคำนั้น อาจจะมีข้อยกเว้นที่ไม่ไ้เป็นไปตามกฏอยู่บ้าง นักเรียนควรดูบริบทประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยอาจจะตรวจสอบความถูกต้องจาก Dictionary ก่อนนำไปใช้ได้